วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนประวัติศาสตร์ ม.2


            

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1 
รหัสวิชา ส22103   รายวิชา ประวัติศาสตร์                                                                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง ประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์            เวลา  4 ชั่วโมง
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

สาระที่ 4  ประวัติศาสตร์
1.                                มาตรฐาน ส 4.1  เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทาง
                                                  ประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด                  (4.1 . 2/1)  ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ
                                 (4.1 . 2/3)  เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

สาระสำคัญ
                    ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นโดยมีองค์ประกอบ คือ เหตุการณ์สำคัญในสังคมมนุษย์ ร่องรอย                        ของเหตุการณ์ที่ปรากฏ รวมทั้งสิ่งที่มีผู้รู้เห็น ได้บันทึก สังเกตและจดจำไว้บอกเล่าต่อกันมา เรียกว่า
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และกระบวนการพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ตีความและเรียบเรียงตามข้อเท็จจริง       ที่ค้นพบเรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความหมายและ
การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ การเข้าใจในหลักฐานประเภทต่างๆ และเข้าใจในกระบวนการหรือขั้นตอน
ต่างๆ ในวิธีการทางประวัติศาสตร์
อย่างถูกต้อง


จุดประสงค์การเรียนรู้

ความรู้ ความเข้าใจ
K (Knowledge)
การฝึกปฏิบัติ
P (Practice)
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
A (Attitude)
1.   อธิบายความหมายและความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ได้
2.   อธิบายความหมายและขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนต่างๆ ได้
3.   จำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็นประเภทต่างๆ ได้
1.    รู้คุณค่าและความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
2.    การประเมินและจัดลำดับความสำคัญของหลักฐาน
3.    ตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยความเข้าใจและปราศจากอคติ
1.    ซื่อสัตย์สุจริต
2.    มีวินัย
3.    ใฝ่เรียนรู้
4.    อยู่อย่างพอเพียง
5.    มุ่งมั่นในการทำงาน
6.    มีจิตสาธารณะ




สาระการเรียนรู้
            1.    ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์
            2.    ความหมายและความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
            3.    ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
            4.    การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
            5.    ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง
            6.    การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์
            7.    ตัวอย่างหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรี


กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1       

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)            นักเรียนรับฟังคำชี้แจง สังเขปวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์  เวลาเรียนและการวัดประเมินผล ซักถาม
ข้อปัญหา รวมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้
            2)    ครูชี้แจงวิธีการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียนว่าจะต้องทำควบคู่กับกระบวนการทำกิจกรรมกลุ่ม และครูจะดูพัฒนาการของนักเรียน
ไปตลอด
ภาคการศึกษา
            3)    ครูชี้แจงกำหนดค่าระดับคะแนน ตามเกณฑ์ดังนี้
                      คะแนนร้อยละ    80 -100           ได้เกรด     4
                      คะแนนร้อยละ    75 - 79            ได้เกรด     3.5
                      คะแนนร้อยละ    70 - 74            ได้เกรด     3
                      คะแนนร้อยละ    65 - 69            ได้เกรด     2.5
                      คะแนนร้อยละ    60 - 64            ได้เกรด     2
                      คะแนนร้อยละ    55 - 59            ได้เกรด     1.5
                      คะแนนร้อยละ    50 - 54            ได้เกรด     1
                      คะแนนร้อยละ    0 -  49             ได้เกรด     0
        4)  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                                     
            ขั้นสอน
            5)    ครูยกตัวอย่างเหตุการณ์ในอดีตที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้
ที่เกิดขึ้นในสังคมหรือชุมชน ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับคำว่า
ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเพื่อ
แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ว่าสามารถทำให้เราเตรียมการกับ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
            6)    นักเรียนสนทนากับครู และช่วยกันหาความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์และ
ประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติมจากการศึกษาประวัติศาสตร์ นักเรียนจดบันทึกไว้
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            7)    ครูเน้นย้ำให้นักเรียนให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือพิมพ์ การติดตามข่าวสาร แล้วให้นักเรียนลองเทียบเคียงดูว่ามีเหตุการณ์ในทำนองดังกล่าวเกิดขึ้นหรือไม่ และคาดเดาว่าบทสรุปของเหตุการณ์จะเป็นเช่นไร


            ชั่วโมงที่  2
            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)    ครูยกตัวอย่างประโยคต่างๆ แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์หรือไม่ โดยยังไม่ต้องเฉลยคำตอบ เช่น
                    R   การเมืองการปกครอง
                    R   การเมืองการปกครองไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
                            R              เศรษฐกิจตกต่ำ
                    R   วิถีชีวิตคนจีนสมัยรัชกาลที่ 5
                    R   การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7
                    R   การเกษตรแบบชีวภาพ
            ขั้นสอน
            2)    ครูอธิบายลักษณะการศึกษาทางประวัติศาสตร์ว่าต้องประกอบด้วยองค์ประกอบใน 2 ลักษณะ
คือ  (1)  เป็นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์     (2)  มีมิติด้านเวลา
            3)        ครูถามคำถามขั้นนำเข้าสู่บทเรียนอีกรอบ พร้อมทั้งเฉลยและเชื่อมโยงองค์ประกอบกับ
ตัวอย่างให้นักเรียนเห็น
            4)        ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่าการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น ใช้เครื่องมือที่สำคัญคือหลักฐานและกระบวนการค้นหาความจริง เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            5)        ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 และส่งท้ายชั่วโมงเรียน











                ชั่วโมงที่  3

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)        ครูอธิบายการแบ่งหลักฐานประเภทต่างๆ
            ขั้นสอน
            2)        ครูยกหัวข้อประเภทของหลักฐานและหัวข้อย่อยในหลักฐานแต่ละประเภท แล้วให้นักเรียน
ลองยกตัวอย่าง
            3)        ครูแจกใบงานที่ 1.2 ให้นักเรียนค้นคว้าและเติมตัวอย่างหลักฐานแต่ละประเภทและ
บันทึกในใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล จากนั้นสุ่มถามนักเรียนบางคนถึง
ตัวอย่างหลักฐานแต่ละประเภทที่นักเรียนบันทึกในใบงาน
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            4)        ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน และมอบหมายตามใบงานที่ 1.6 และ 1.7 โดยให้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์
            5)        ครูเน้นย้ำถึงคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และให้นักเรียนเห็นความสำคัญ
เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวทุกๆ ชิ้นว่ามีคุณค่า ควรถนอมรักษา และเชื่อมโยงให้เห็นว่า
ในอนาคตทรัพย์สินของนักเรียนอาจมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในอนาคตก็เป็นได้
            6)        ครูแจกใบงานที่ 1.4 มอบหมายให้นักเรียนไปทดลองตีความพงศาวดารฉบับวันวลิต
ออกมาเป็นความเรียง เพื่อการเรียนการสอนชั่วโมงหน้า

ชั่วโมงที่  4        

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)        ครูสุ่มถามนักเรียนถึงใจความที่นักเรียนถอดความมาได้ และให้นักเรียนคนอื่นๆ อภิปราย
เพิ่มเติม
            2)        ครูแจกใบงานที่ 1.3 ให้นักเรียนจับใจความและบันทึกตามที่ครูอธิบายเกี่ยวกับการ
ประเมินหลักฐานและยกตัวอย่างประกอบ ครูสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
            ขั้นสอน
            3)        ครูแจกใบงานที่ 1.9 ให้นักเรียนสรุปจับใจความที่ครูสอนเกี่ยวกับความหมายและ
ความสำคัญของการตีความหลักฐาน และแยกแยะความจริง ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น
            4)        ครูแจกใบงานที่ 1.8 ให้เวลานักเรียน 5 นาที แยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อสันนิษฐานจาก
บทความในใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล หลังจากหมดเวลา ครูสนทนา
แลกเปลี่ยนความคิดกับนักเรียน




            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            5)        ครูมอบหมายใบงานที่ 1.5 และ 1.10 ให้เวลา 1สัปดาห์ พร้อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ
อันจะเป็นพื้นฐานการเรียนบทต่อไป พร้อมทั้งย้ำเตือนเกี่ยวกับงานกลุ่มที่มอบหมาย
เมื่อชั่วโมงที่แล้ว
            6)        ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
            7)        ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยแบบทดสอบ นักเรียนตรวจคำตอบของตนเอง แล้วบันทึก
คะแนนไว้
เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับผลคะแนนของแบบทดสอบก่อนเรียน

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            1.  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์
           2. ใบงาน
           3.  แบบทดสอบก่อน/หลังเรียน          
          4. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
                                http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm
                                http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=3721.0
                         http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k3/0016/.../__3.html
การบูรณาการ
            ภาษาไทย                       ฟัง พูด อ่าน เขียนเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                การงานอาชีพฯ            สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                ศิลปะ                           ทำสมุดภาพเกี่ยวกับปีระเภทของหลักฐานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                                                 สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี
หลักฐาน/ผลงาน
            1.    ผลการทำแบบทดสอบ                                   
            2.    ผลการทำใบงาน


การวัดและประเมินผล
                    เครื่องมือวัดและประเมินผล
                    1)    แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
                    2) แบบทดสอบ
                    3)    ใบงาน
                    4)    แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                    5)    แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                    6)    แบบสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
                    7) แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                    วิธีวัดผล
                    1)    ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
                    2)    ตรวจแบบทดสอบ
                    3)    ตรวจใบงาน
                    4)    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                    5)    สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                    6)    สังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
                    7)    สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                    1)    สำหรับชั่วโมงแรกที่ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนไม่มีเกณฑ์ผ่าน เก็บคะแนนไว้เปรียบเทียบกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียน
                    2)     การประเมินผลจากแบบทดสอบ ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบเกินร้อยละ 50
                    3)        การประเมินผลจากแบบตรวจใบงาน ต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน เรื่องความรู้ความเข้าใจ4การนำไปใช้ ทักษะ และจิตพิสัย ทุกช่องเกินร้อยละ 50
                    4)    การประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคือ เกินร้อยละ 50
                            5)        การประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล เกณฑ์ผ่านการประเมิน ต้องไม่มีช่อง
ปรับปรุง
                    6)    การประเมินผลการสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน คะแนนขึ้นอยู่กับการประเมิน
ตามสภาพจริง
                    7)    การประเมินผลการสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คะแนนขึ้นอยู่กับ
การประเมินตามสภาพจริง
















แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง...ประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์         
ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ


คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง

   1.   ข้อใดคือลักษณะของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์
          ก.    การศึกษาสภาพสังคมของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ
          ข.    การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่งๆ
          ค.    การศึกษาศิลปะที่ปรากฏในโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งๆ
          ง.    การศึกษาพระราชกรณียกิจของบุคคลสำคัญท่านหนึ่งๆ

   2.   ข้อใดเป็นประโยชน์จากการเรียนประวัติศาสตร์
          ก.    เพื่อให้ผู้เรียนได้บทเรียนในการปรับปรุงอนาคตให้ดีขึ้น
          ข.    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรักและความภูมิใจในความเป็นชาติ
          ค.    เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ ผ่านทางประวัติศาสตร์
          ง.    ถูกทุกข้อ

   3.   ข้อใดเป็นกระบวนการแรกสุดในวิธีการทางประวัติศาสตร์
          ก.    การกำหนดประเด็นที่จะศึกษา                       ข.    การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน
          ค.    การประเมินหลักฐาน                                       ง.    การตีความหลักฐาน

   4.   การค้นหาความจริงที่ซ่อนอยู่ในหลักฐานชิ้นหนึ่งๆ เป็นวิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใด
          ก.    การรวบรวมข้อมูล                                             ข.    การประเมินหลักฐาน
          ค.    การตีความหลักฐาน                                          ง.    การนำเสนอ

   5.   ชนชาติใดมีหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรมากที่สุดในบรรดาชาติตะวันออก
          ก.    จีน                                                                        ข.    อินเดีย
          ค.    ไทย                                                                      ง.    ขอม

   6.   ข้อใดเป็นหลักฐานประเภทเป็นลายลักษณ์อักษรที่ถูกทำขึ้นในดินแดนชมพูทวีป
          ก.    คัมภีร์พระเวท                                                    ข.    พระไตรปิฎก
          ค.    มหาภารตะ                                                         ง.    ถูกทุกข้อ
   7.   ข้อใดจัดเป็นหลักฐานชั้นต้นทั้งหมด
          ก.    ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
          ข.    หนังสือเรียนประวัติศาสตร์, พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน
          ค.    วัดไชยรัตนาราม, จดหมายเหตุชาวต่างชาติสมัยอยุธยา
          ง.    ภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท, พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

   8.   ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางโบราณคดี
          ก.    รอยจารึกในกระดองเต่า                                   ข.    ภาพเขียนสีทางประวัติศาสตร์
          ค.    ตัวอักษรที่สลักลงบนดินเหนียว                     ง.    ถูกทุกข้อ

   9.   หลักฐานในข้อใดหากแบ่งตามลักษณะแล้ว จัดว่าต่างจากข้ออื่น
          ก.    พระพุทธรูป                                                       ข.    พระปรางค์สามยอด
          ค.    หนังสือพิมพ์                                                      ง.    อาวุธปืน

10.    เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินหลักฐาน
          ก.    เพราะหลักฐานถูกสร้างขึ้นในเวลาต่างกัน
          ข.    เพราะหลักฐานมีความน่าเชื่อถือต่างกัน
          ค.    เพราะหลักฐานมีคุณค่าหรือราคาต่างกัน
          ง.    เพราะหลักฐานมีความคงทนต่างกัน

11.    ด้านหลังเหรียญโบราณมีรูปเรือสำเภาแสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้น่าจะมีการติดต่อหรือค้าขายกับ
ต่างประเทศแล้ว
จากข้อความข้างต้นเป็นวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนใด
          ก.    การรวบรวมหลักฐาน                                       ข.    การตีความหลักฐาน
          ค.    การประเมินหลักฐาน                                       ง.    การสรุปและเรียบเรียง

12.    ข้อใดเป็นการวิพากษ์ข้อสนเทศ
          ก.    การศึกษาว่าใครเป็นผู้เขียนจดหมายเหตุเรื่องนี้
          ข.    การศึกษาว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์เป็นเวลาใด
          ค.    ศึกษาว่าผู้ทำหนังสือเล่มนี้มีเจตนาแอบแฝงหรือไม่
          ง.    ศึกษาว่าข้อความในจารึกมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานอื่นๆ หรือไม่




13.    ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
          ก.    ไม่ปรากฏพระนามพระสุพรรณกัลยาในพระราชพงศาวดารของไทย
          ข.    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชน่าจะถูกจับไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดีเมื่อพระชันษาราว 
8  ชันษา
          ค.    คำว่าสยามเชื่อว่ามีที่มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าไท
          ง.   คงเป็นเหตุผลเดียวที่จะเชื่อได้ว่าพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงปืน มิใช่ด้วยการ
ทำยุทธหัตถี

14.    ข้อพึงระวังที่สุดในการตีความหลักฐานคือข้อใด
          ก.    การใส่ความคิดเห็นส่วนตัวไปในการตีความ
          ข.    การไม่รู้คำศัพท์ที่เป็นภาษาโบราณบางคำ
          ค.    การไม่นำหลักฐานไปเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น
          ง.    การตีความโดยคงภาษาดั้งเดิมบางคำไว้

15.    หลักฐานในข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่ถูกสร้างขึ้นโดยชาวต่างชาติ
          ก.    จดหมายเหตุลาลูแบร์
          ข.    ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามโดยนิโกลาส์ แซร์แวส
          ค.    พระราชพงศาวดารฉบับนายวันวลิต
          ง.    คำให้การชาวกรุงเก่า





เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๐
๑๕


แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2 
รหัสวิชา ส 22103   รายวิชา ประวัติศาสตร์                                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2  เรื่อง การสถาปนาอาณาจักรและพัฒนาการ
                                                    ทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา                        เวลา  7 ชั่วโมง
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

1.                                มาตรฐาน ส 4.3   เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก มีความภูมิใจ
                                                           และธำรงความเป็นไทย   

 ตัวชี้วัด     1. วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีในด้านต่าง ๆ  (4.3  . 2/1)
2.                                              2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา (4.3 . 2/2)

 สาระสำคัญ

อาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้นในบริเวณที่มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน และการติดต่อกับดินแดนภายนอกได้อย่างสะดวก ปัจจัยพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ประกอบกับการมีพระมหากษัตริย์
ที่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการขยายอำนาจทางการเมือง ความสัมพันธ์กับนานาประเทศ การจัดระเบียบ
การปกครอง และการควบคุมกำลังไพร่พลอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยามีความมั่นคงสืบต่อกันมาถึง 417 ปี ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาและการจัดการปกครองยังคงมีอิทธิพลสืบต่อมาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้

ความรู้ ความเข้าใจ
K (Knowledge)
การฝึกปฏิบัติ
P (Practice)
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
A (Attitude)
1.    บอกความเป็นมาทาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาได้
2.   แยกแยะศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรไทยในช่วงสมัยต่างๆ ได้
3.   เรียงลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในสมัยอยุธยาได้
4.   บอกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยาได้
5.   บอกลักษณะการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยาในช่วงเวลาต่างๆ ได้
1.    รู้และเข้าใจความเป็นมาทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
2.    รู้จักศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรไทยในช่วงสมัยต่างๆ
3.    บอกลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในสมัยอยุธยา
4.    เข้าใจลักษณะการเมืองการปกครองของอาณาจักรอยุธยาในช่วงเวลาต่างๆ
1.    รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2.    ซื่อสัตย์สุจริต
3.    มีวินัย
4.    ใฝ่เรียนรู้
5.    อยู่อย่างพอเพียง
6.    มุ่งมั่นในการทำงาน
7.    รักความเป็นไทย
8.    มีจิตสาธารณะ

สาระการเรียนรู้
                    1.          ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
                    2.          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา
                    3.          พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
                    4.          การสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา
                    5.          พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
                    6.          การสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา
การบูรณาการ
           บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่   ทักษะการอ่าน การตีความ การเขียนรายงาน
การอภิปรายและนำเสนอ

กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่  1        

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)            ครูแจกใบงานที่ 2.1 และสอบถามถึงใบงานที่ 1.5 ที่มอบหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับ
หลักฐานชั้นต้นที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยา ครูอธิบายถึงหลักฐานต่างๆ ที่ใช้
สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาพร้อมให้นักเรียนบันทึกลงในใบงาน
            ขั้นสอน
            2)    ครูแจกใบงานที่ 2.2 พร้อมทั้งแสดงแผนที่ประเทศไทย และอธิบายเกี่ยวกับอาณาจักรต่างๆ
ในดินแดนไทยในประเด็นที่ตั้งและหลักฐานสำคัญๆ ของอาณาจักรต่างๆ พร้อมให้นักเรียน
บันทึกลงในใบงาน
            3)    ครูนำรูปหลักฐานต่างๆ เหล่านี้มาแสดง แล้วให้นักเรียนลองทายว่าเกี่ยวข้องกับอาณาจักรใด
ครูเฉลยไปพร้อมกับการสอน สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            4)    ครูมอบหมายใบงานที่ 2.4 ให้นักเรียนจัดทำสมุดภาพวัฒนธรรมโบราณในดินแดนไทย
ให้เวลา 1 สัปดาห์
            5)    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน และตรวจแบบทดสอบด้วยตนเอง
เพื่อทดสอบความซื่อสัตย์




  

ชั่วโมงที่ 2
            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)            ครูนำแผนที่ประเทศไทยให้นักเรียนดู สุ่มเรียกนักเรียน 2 คนออกมาหาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บนแผนที่
            2)    ครูถามถึงลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            ขั้นสอน
            3)    ครูอธิบายถึงปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะต่อการตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
            4)    ครูอธิบายเสริมเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา โดยให้นักเรียน
ดูแผนที่ประกอบ
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            5)        ครูสรุปปัจจัยในการก่อตั้งอาณาจักร มอบหมายใบงานที่ 2.5 ให้นักเรียนทบทวนความรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษามาแล้วในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และค้นคว้าเพิ่มเติม กำหนดส่งภายใน 1 สัปดาห์


   ชั่วโมงที่  3   

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)        ครูสุ่มให้นักเรียนยกตัวอย่างพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาที่นักเรียนรู้จักมาคนละ 1 พระองค์
            ขั้นสอน
2)            ครูอธิบายถึงลำดับพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา โดยเน้นย้ำในพระองค์ที่สำคัญๆ เช่น ผู้ก่อตั้ง
         อาณาจักร รัชสมัยที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 รัชสมัยที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ราชวงศ์และกษัตริย์
          เป็นต้น
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
3)            ครูทำฉลากรายพระนามพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาพระองค์ที่สมควรให้นักเรียนศึกษา ให้นักเรียน 
   จับ กลุ่ม 2-3 คน และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากว่ากลุ่มของนักเรียนได้พระนามกษัตริย์พระองค์
                    ใด ครูมอบหมายใบงานที่ 2.8 ให้นักเรียนสืบค้นพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ                  
                    พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ตัวแทนกลุ่มของนักเรียนจับฉลากได้







ชั่วโมงที่ 4

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)               ครูอธิบายนำเกี่ยวกับความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยาที่ยืนยงยาวนานมาได้ถึง 417 ปี
            ขั้นสอน
2)               ครูแจกใบงานที่ 2.7 และอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการเมืองการปกครอง และให้นักเรียนจับใจความและจดบันทึกลงในใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรม
รายบุคคล
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
3)            ครูสรุปปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเมืองการปกครอง สุ่มเรียกนักเรียนทีละคน
ให้อธิบายถึงปัจจัยที่นักเรียนจดบันทึกลงในใบงานคนละประเด็น


   ชั่วโมงที่ 5

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)        ครูแบ่งกระดานออกเป็น 3 ส่วน วาดแผนผังการปกครองในส่วนราชธานีและส่วนหัวเมือง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ให้นักเรียนจดบันทึกตามไป
            ขั้นสอน
            2)        ครูอธิบายการจัดระเบียบการปกครองในสมัยต่างๆ
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            3)        ครูมอบหมายใบงานที่ 2.9 ให้นักเรียนเติมแผนภูมิการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ให้ครบถ้วน ให้เวลา
5 นาที ในขณะที่นักเรียนทำใบงาน ครูวาดแผนภูมิเหมือนใบงาน
ลงบนกระดาษ
            4)        สุ่มเลือกนักเรียนให้มาหน้าชั้น ครูชี้ที่แผนภูมิให้นักเรียนเติมข้อความลงในแผนภูมิ
ให้ถูกต้อง ครูให้เพื่อนในชั้นช่วยกันเฉลยว่าถูกต้องหรือไม่ ทำเช่นนี้จนครบ


   ชั่วโมงที่6-7 

            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1)        ครูนำภาพเมืองเก่า หรือซากปรักหักพังให้นักเรียนดู และอธิบายให้เห็นว่าก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะล่มสลายนั้นมีความงดงามอย่างไร โดยเปรียบเทียบพระบรมมหาราชวังให้นักเรียนเห็นและอธิบายว่าเป็นการจำลองมาจากกรุงศรีอยุธยา
            ขั้นสอน
            2)        ครูมอบหมายใบงานที่ 2.10 ให้นักเรียนจับใจความตามที่ครูอธิบายและจดบันทึกถึง
ปัจจัยที่ส่งผลให้เสียกรุงศรีอยุธยา
            ขั้นสรุปและการประยุกต์
            3)        ครูสุ่มเรียกนักเรียนให้สรุปปัจจัยการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาทั้งภายนอกและภายใน
            4)        ครูแจกใบงานที่ 2.6 ให้นักเรียนทำเส้นเวลาแสดงลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในสมัย
กรุงศรีอยุธยา โดยครูทำตัวอย่างให้เห็นจุดก่อตั้งอาณาจักร การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
            5)        ครูสุ่มเรียกนักเรียนทีละคนออกมาขีดเส้นเวลา 1 เหตุการณ์สำคัญให้ได้มากที่สุด ครูสังเกต
พฤติกรรมรายบุคคล
            6)        ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
            7)        ครูมอบหมายใบงานที่ 2.3 ให้เวลา 1 สัปดาห์พร้อมอธิบายว่าให้ค้นคว้าเพื่อเป็นพื้นฐาน
การเรียนในบทต่อไป


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1)            ห้องสมุดโรงเรียน
2)            หนังสือแบบเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์
3)            ใบงาน
4)            แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                      5)    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
                                http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm
                                http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=3721.0


การวัดและประเมินผล
                    เครื่องมือวัดและประเมินผล
                    1)                                                                                แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน           
                    2)                                                                                แบบทดสอบ
                    3)                                                                                ใบงาน          
                    4)                                                                                แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                    5)                                                                                แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล              
                    6)                                                                                แบบสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
                    7)    แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                   

วิธีวัดผล
                    1)    ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
                    2)    ตรวจแบบทดสอบ
                    3)    ตรวจใบงาน
                    4)    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                    5)    สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                    6)    สังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน
                    7)    สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                    1)    สำหรับชั่วโมงแรกที่ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนไม่มีเกณฑ์ผ่าน เก็บคะแนนไว้เปรียบเทียบ
กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียน
                    2)     การประเมินผลจากแบบทดสอบ ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบเกินร้อยละ 50
                    3)        การประเมินผลจากแบบตรวจใบงาน ต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน เรื่องความรู้ความเข้าใจ
การนำไปใช้ ทักษะ และจิตพิสัย ทุกช่องเกินร้อยละ 50
                    4)    การประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน
คือ เกินร้อยละ 50
                            5)        การประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล เกณฑ์ผ่านการประเมิน ต้องไม่มีช่อง
ปรับปรุง
                    6)    การประเมินผลการสังเกตสมรรถนะสำคัญของนักเรียน คะแนนขึ้นอยู่กับการประเมิน
ตามสภาพจริง
                    7)    การประเมินผลการสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คะแนนขึ้นอยู่กับ
การประเมินตามสภาพจริง













การใช้หลักปรัชญาของของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้
  ครูผู้สอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดการเรียนรู้
              3 ห่วง
ประเด็น
พอประมาณ
มีเหตุมีผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
1.  เนื้อหา
การจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551
ศึกษาหลักสูตรมาตรฐานตัวชี้วัด สาระแกนกลางตามหลักสูตรปี 2551
2.  เวลา
กำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลาและระดับชั้นของนักเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้จัดสรรเวลาการทำงานได้เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรม
วางแผนการทำงาน จัดทำคำชี้แจง ขั้นตอนกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติกิจกรรมให้ชัดเจน
3.  สื่อ  /อุปกรณ์
-การเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ในการเรียนการสอน เหมาะสมกับผู้เรียน
-กำหนดชิ้นงานและภาระงานให้เหมาะสมกับเนื้อหา เวลาและระดับชั้นของนักเรียน
-เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด
-จัดเตรียมสื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้เรียนและมีสำรองไว้ ในกรณีที่สื่อชำรุด ใช้การไม่ได้
-ตรวจสอบ และทดลองสภาพความพร้อมของ
โปรเจคเตอร์/เครื่องเล่น VCD
4.  แหล่งเรียนรู้
-การเลือกใช้ แหล่งเรียนรู้ในการเรียนการสอน เหมาะสมกับผู้เรียน

-เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ได้อย่างคุ่มค่า
-เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง
-สำรวจแหล่งเรียน จัดเตรียมความพร้อม

5.  กิจกรรมการเรียนรู้
-กำหนดกิจกรรม/ภาระงานให้เหมาะสมกับเนื้อหาในเวลาที่
กำหนด
-เพื่อฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหาและการทำงานร่วมกัน
-ครูชี้แจงขั้นตอนการทำกิจกรรมให้ชัดเจนและให้คำแนะนำ/ปรึกษาอย่างใกล้ชิด
6.  การวัดและประเมินผล
-กำหนดวิธีการวัด ประเมินผลให้เหมาะสมกับกิจกรรมและเนื้อหา
-กำหนดเกณฑ์การวัด/ประเมินเหมาะสมกับตัวชี้วัด

-เพื่อวัด/ประเมินให้ตรงตามตัวชี้วัด
-เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
-เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด
-วางแผนการวัด/ประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมและเนื้อหา
-เตรียมและจัดทำเครื่องมือการวัด/ประเมินผล ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน




              3 ห่วง
ประเด็น
พอประมาณ
มีเหตุมีผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ความรู้ที่ครูต้องมี
-เรื่องหลักสูตรมาตรฐานตัวชี้วัดและสาระแกนกลางตามหลักสูตรปี 2551
-เรื่องการวางแผนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
-เรื่องเทคนิคกระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
-มีความรู้และมีทักษะในการใช้สื่อและอุปกรณ์
-มีความรู้เรื่องการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
คุณธรรมที่ครูต้องมี
มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขยันอดทน เสียสละ รักและเมตตาต่อศิษย์ รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ยืดหยุ่นมีความเป็นกัลยาณมิตรและมีวินัยในตนเองปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี


ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง อย่างไรบ้าง จากกิจกรรมการเรียนรู้นี้
หลักพอประมาณ
หลักมีเหตุผล
หลักสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
1.  ใช้เวลาในการศึกษาและปฏิบัติงานได้เหมาะสม
2.  ใช้วัสดุอุปกรณ์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
3. เข้าร่วมกิจกรรมตามความรู้ความสามารถได้อย่างเหมาะสม

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมาของอาณาจักรอยุธยา
2. รักและภูมิใจในความเป็นชาติไทย
3.  นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

1. มีการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ
2.  เคารพกฎ กติกา และยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม
3.  ระมัดระวังรอบคอบในการใช้วัสดุอุปกรณ์
ความรู้   รู้เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา     -  รู้กระบวนการการทำงานกลุ่ม                 

คุณธรรม    ความสามัคคี     มีวินัย ตรงต่อเวลา   ความรับผิดชอบ ช่วยเหลือแบ่งปัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประหยัด พอประมาณ  เสียสละ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีจิตอาสาและจิตสาธารณะ












ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง อย่างไรบ้าง จากกิจกรรมการเรียนรู้นี้
    ด้านวัด
อยู่อย่างพอเพียง...สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
วัตถุ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม
ความรู้
(K)
-รู้วิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างประหยัดคุ้มค่าและปลอดภัย


 - รู้กระบวนการทำงานกลุ่ม
- ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนรวม
-การช่วยเหลือแบ่งปัน
การเคารพกฎระเบียบ กฎหมาย และมีวินัยในสังคม
- รู้สภาพสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา
- การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน

- เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสมัยอยุธยา
- ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- ปัญหาและสภาพของสังคมไทยอยุธยา
ทักษะ
(P)
- ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง คุ้มค่าและประหยัด
- การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน


-เกิดทักษะในกาทำงานกลุ่ม การอยู่ร่วมกันในกลุ่ม
-นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- ทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
-ทักษะการคิดแก้ปัญหา
ใช้วัสดุ  อุปกรณ์อย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความเป็นมิตรกับผู้อื่น
-ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยได้อย่างเหมาะสม

ค่านิยม
(A)
- เห็นคุณค่าของวัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้

-เห็นคุณค่าของความสามัคคี มีน้ำใจ ความเสียสละ และจิตอาสา
-เห็นความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
- เห็นคุณค่าของการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในห้องเรียน

- ตระหนักและเห็น
ความสำคัญของความเสียสละของบรรพบุรุษไทยสมัยอยุธยา
-มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทยและมรดกไทย










แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
เรื่อง...การสถาปนาอาณาจักรและพัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ ΩΩΩΩ


คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง

   1.   ปัจจัยในข้อใดที่ส่งผลให้ดินแดนไทยเป็นดินแดนที่รับวัฒนธรรมของชาติต่างๆ อย่างหลากหลาย
          ก.    ลักษณะประชากร                                             ข.    ศาสนา
          ค.    ที่ตั้ง                                                                      ง.    ระบอบการปกครอง

   2.   ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมอินเดียที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
          ก.    ศาสนา                                                                 ข.    การปกครอง
          ค.    ภาษา                                                                    ง.    ระบบอาวุโส

   3.   ข้อใดเป็นอาณาจักรทางตอนเหนือของไทย
          ก.    หริภุญชัย                                                            ข.    ตามพรลิงค์
          ค.    ทวารวดี                                                               ง.    ละโว้

   4.   ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาคือข้อใด
          ก.    พระเจ้าอู่ทอง                                                     ข.    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
          ค.    พ่อขุนมังราย                                                      ง.    พระยางำเมือง

   5.   ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งเสริมการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
          ก.    กรุงศรีอยุธยาอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมน้ำ เหมาะแก่การทำการเกษตร
          ข.    กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเหมาะแก่การค้าขาย
          ค.    กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบ ๓ สาย เป็นคูเมืองธรรมชาติป้องกันศัตรูรุกราน
          ง.    กรุงศรีอยุธยามีปฐมกษัตริย์ที่เป็นชาวสุโขทัยทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่าย

   6.   ข้อใดเป็นแม่น้ำที่ล้อมรอบกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด
          ก.    แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำแม่กลอง
          ข.    แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำลพบุรี
          ค.    แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำป่าสัก
          ง.    แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำลพบุรี
   7.   การที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณ ปากแม่น้ำ จัดเป็นความเหมาะสมด้านใด
          ก.    ชัยภูมิการสู้รบ                                                   ข.    การค้าขาย
          ค.    การปกครอง                                                       ง.    การส่งเสริมวัฒนธรรม

   8.   ปัจจัยภายนอกในข้อใดที่ไม่ใช่แรงผลักดันให้มีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
          ก.    อาณาจักรเขมรกำลังเสื่อมอำนาจ
          ข.    อาณาจักรสุโขทัยและล้านนากำลังมีภาระด้านกิจการภายใน
          ค.    แคว้นสุพรรณบุรีและละโว้ให้การส่งเสริม
          ง.    การเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาติจีน

   9.   ข้อใดเรียงลำดับราชวงศ์ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาได้ถูกต้อง
          ก.    อู่ทอง         สุพรรณบุรี        บ้านพลูหลวง       ปราสาททอง         สุโขทัย
          ข.    สุโขทัย       อู่ทอง                 สุพรรณภูมิ           ปราสาททอง         บ้านพลูหลวง
          ค.    สุโขทัย       สุพรรณภูมิ         อู่ทอง                  บ้านพลูหลวง         ปราสาททอง
          ง.    อู่ทอง         สุพรรณภูมิ           สุโขทัย               ปราสาททอง          บ้านพลูหลวง

10.    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ใด
          ก.    อู่ทอง                                                                   ข.    สุพรรณภูมิ
          ค.    สุโขทัย                                                                 ง.    ปราสาททอง

11.    ในด้านการเมืองการปกครองจะมีการเปลี่ยนราชวงศ์เมื่อใด
          ก.    เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต
          ข.    เมื่อผู้ที่ครองราชสมบัติพระองค์ต่อมิใช่หน่อเนื้อของกษัตริย์องค์ก่อน
          ค.    เมื่อมีการเสียเอกราช
          ง.    เมื่อเป็นการขึ้นครองราชย์ด้วยการชิงราชสมบัติ
12.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นสมมติเทพของกษัตริย์สมัยอยุธยา
          ก.    อยู่ในพระราชวังโอ่อ่าใหญ่โต                        ข.    ได้รับกติกาความเชื่อจากศาสนาฮินดู
          ค.    มีการใช้คำราชาศัพท์                                        ง.    มีพระชนมายุยาวนาน

13.    แม้กษัตริย์ในสมัยอยุธยาจะมีอำนาจล้นพ้นแต่ก็อาจถูกจำกัดพระราชอำนาจด้วยสิ่งใด
          ก.    ขุนนาง                                                                ข.    หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
          ค.    อาณาจักรข้างเคียง                                             ง.    พระบรมวงศานุวงศ์


14.    ข้อใดเป็นการแผ่ขยายอาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาตามแนวความคิดในเรื่องจักรพรรดิราช
          ก.    การต้องการครอบครองเมืองท่าเพื่อเป็นเครือข่ายการค้ากับต่างประเทศ
          ข.    การต้องการสร้างอำนาจให้เข้มแข็งเพื่อคานอำนาจกับสุโขทัย ล้านนา และล้านช้าง
          ค.    ความต้องการกำลังคนและเครื่องราชบรรณาการเพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ
          ง.    ความต้องการเป็นใหญ่เหนือราชาทั้งปวง

15.    ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับญี่ปุ่นและเปอร์เซีย
          ก.    เพื่อเศรษฐกิจและการค้า                                  ข.    เพื่อความมั่นคงของอาณาจักร
          ค.    เพื่อขยายดินแดน                                               ง.    เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

16.    ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเชิงลบ
          ก.    การค้า                                                                  ข.    การทูต
          ค.    การเผยแผ่ศาสนา                                              ง.    สงคราม

17.    เป้าหมายหลักของการปกครองในสมัยพระเจ้าอู่ทองคือข้อใด
          ก.    เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
          ข.    เพื่อขยายอาณาเขตให้กว้างใหญ่ไพศาล
          ค.    เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดความมั่งคั่งแก่อยุธยา
          ง.    เพื่อเป็นศูนย์กลางทางศาสนาในเขตภูมิภาค

18.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับราชธานีในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
          ก.    มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง                         ข.    เป็นที่ประทับของกษัตริย์
          ค.    ปกครองแบบจตุสดมภ์                                     ง.    มีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา

19.    หากเกิดโจรผู้ร้ายขึ้นในราชธานีหน่วยงานใดในจตุสดมภ์เป็นผู้ดูแล
          ก.    กรมเวียง                                                              ข.    กรมวัง
          ค.    กรมคลัง                                                              ง.    กรมนา

20.    ตำรวจนครบาลในปัจจุบันเทียบได้กับหน่วยงานใดในจตุสดมภ์
          ก.    กรมเวียง                                                              ข.    กรมวัง
          ค.    กรมคลัง                                                              ง.    กรมนา





21.    ข้อใดจัดเป็นภาระหน้าที่ของกรมนา
          ก.    ปกครองและบังคับบัญชาไพร่พลในเขตราชธานี
          ข.    ตั้งศาลชำระคดีภายในราชสำนัก
          ค.    เก็บผลประโยชน์เข้าสู่ท้องพระคลัง
          ง.    ตระเตรียมสะสมเสบียงของอาหารไว้เพื่อการศึกสงคราม

22.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา
          ก.    มีอิสระในการปกครอง
          ข.    ใช้ระยะเวลาเดินมาราชธานีประมาณ 2 วัน
          ค.    ได้แก่เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เป็นต้น
          ง.    กษัตริย์แต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปดูแล

23.    เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชอาณาเขตของอยุธยา ชาวเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติต่างภาษา
ราชธานีจะแต่งตั้งเจ้านายเชื้อสายเดิมเป็นผู้ปกครองอย่างอิสระตามประเพณีการปกครองของ
แต่ละเมือง
ลักษณะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหัวเมืองในข้อใด
          ก.    เมืองลูกหลวง                                                     ข.    เมืองชั้นใน
          ค.    เมืองชั้นนอก                                                      ง.    เมืองประเทศราช

24.    ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาสู่การปฏิรูประบบการปกครองในส่วนของหัวเมืองในสมัยสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ
          ก.    อาณาจักรมีขนาดกว้างใหญ่ไพศาล ควบคุมได้ยาก
          ข.    หัวเมืองบางเมืองมีอิสระและมีอำนาจมากเกินไป
          ค.    ขุนนางมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงมาก
          ง.    จำเป็นต้องเตรียมการรับศึกสงครามจากพม่า

25.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
          ก.    สมุหกลาโหมดูแลเฉพาะทหารในหัวเมืองฝ่ายใต้
          ข.    สมุหนายกดูแลกิจการพลเรือนทั่วราชอาณาจักร
          ค.    นครบาลดูแลการปกครองในส่วนของราชธานี
          ง.    โกษาธิบดีมีหน้าที่ค้าขายกับต่างประเทศ

26.    ผู้รั้ง หมายถึงผู้ปกครองในเมืองใด
          ก.    หัวเมืองชั้นเอก                                                  ข.    หัวเมืองชั้นโท
          ค.    หัวเมืองชั้นตรี                                                    ง.    หัวเมืองชั้นจัตวา

27.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในสมัยสมเด็จพระเพทราชา
          ก.    กิจการทหารทางฝ่ายใต้อยู่ในการดูแลของสมุหนายก
          ข.    กิจการพลเรือนของฝ่ายเหนืออยู่ภายใต้การดูแลของสมุหกลาโหม
          ค.    สมุหนายกมีอำนาจบังคับบัญชาทหารในฝ่ายใต้
          ง.    สมุหกลาโหมมีอำนาจบังคับบัญชาทหารของฝ่ายเหนือ

28.    กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด
          ก.    พระมหินทราธิราช - พระเจ้าบุเรงนอง
          ข.    พระเจ้าเอกทัศ - พระเจ้ามังระ
          ค.    พระมหินทราธิราช - พระเจ้ามังระ
          ง.    พระเจ้าเอกทัศ – พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

29.    ข้อใดเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
          ก.    สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ
          ข.    คนไทยแตกความสามัคคี
          ค.    พม่าได้รับการช่วยเหลือจากชาติตะวันตก
          ง.    จีนให้การช่วยเหลือชาติศัตรู

30.    ข้อใดเป็นปัจจัยภายนอกที่ทำให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย
          ก.    ความเสื่อมของสถาบันกษัตริย์                       ข.    ความอ่อนแอของผู้นำ
          ค.    ความอ่อนแอของทหาร                                    ง.    ความเข้มแข็งของผู้นำพม่า



เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
1
6
11
16
21
26
2
7
12
17
22
27
3
8
13
18
23
28
4
9
14
19
24
29
5
10
15
20
25
30